วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ















































































ขั้นตอนการทำจดหมายเวียนค่ะ

ขั้นตอนการทำจดหมายเวียน
1.โดยไฟล์จดหมายต้นฉบับทำจาก MS Word 2003 และไฟล์ข้อมูลทำจาก MS Excel 2003ให้พิมพ์ข้อมูลเก็บไว้เป็นไฟล์ก่อน โดยใช้ MS Excel 2003 ดังรูปที่ 1 แล้ว Save เก็บไว้ สมมติว่าตั้งชื่อไฟล์นี้ว่า Data.xls (ข้อมูลนี้เก็บอยู่ใน Sheet1 ของไฟล์ Data.xls)
2.พิมพ์จดหมายที่จะทำจดหมายเวียน ให้พิมพ์เฉพาะส่วนที่เหมือนกันทุกฉบับ ส่วนที่เปลี่ยนไป อย่างเช่น ชื่อ ให้เว้นเอาไว้ เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้ Save เก็บไว้ สมมติว่าตั้งชื่อไฟล์ว่า Letter.1.doc
3.เลือกเมนู Tools แล้วเลือกเมนูย่อย Letters and Mailings แล้วเลือกคำสั่ง Mail Merge…
4. จะปรากฏตัวช่วยทางด้านขวามือ โดยขั้นที่ 1 เป็นการเลือกประเภทของเอกสาร ให้เลือก Letters แล้วมองลงมาข้างล่างให้เลือกคำสั่ง Next: Starting document
5. ตัวช่วยทางด้านขวามือจะเข้าสู่ขั้นที่ 2 เป็นการเลือกจดหมายต้นฉบับ ให้เลือก Use the current document แล้วมองมาข้างล่าง ให้เลือกคำสั่ง Next: Select recipients
6.ตัวช่วยทางด้านขวามือจะเข้าสู่ขั้นที่ 3 เป็นการเลือกผู้รับจดหมาย ให้เลือก Use an existing list แล้วคลิกคำสั่ง Browse จะปรากฏหน้าต่าง Select Data Source นั่นคือ ให้เราไปเลือกไฟล์ผู้รับ ในที่นี้คือไฟล์ MS Excel 2003 ของเราที่ชื่อว่า Data.xls นั่นเอง แล้วคลิกปุ่ม Open
7. จะปรากฏหน้าต่าง Select Table เนื่องจากข้อมูลของเราเก็บอยู่บน Sheet1 ของไฟล์ Data.xls ดังนั้นในหน้าต่างนี้ ให้เลือก Sheet1$ แล้วคลิกปุ่ม OK
8. จะปรากฏหน้าต่าง Mail Merge Recipients จะเห็นได้ว่า MS Word มองเห็นข้อมูลที่เราเลือกมาจากไฟล์ Excel ซึ่งในขั้นตอนนี้ ที่หน้าต่างนี้ เราสามารถเลือกผู้รับได้ว่า ต้องการหรือไม่ต้องการให้ส่งถึงใครบ้าง ถ้าต้องการส่ง ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ด้านหน้า เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK
9. MS Word จะปิดหน้าต่าง Mail Merge Recipients ต่อจากนี้ให้มองลงมาข้างล่าง แล้วเลือกคำสั่ง Next: Write your letter
10. ตัวเลือกทางขวาจะเข้าสู่ขั้นต่อไป คือ การเขียนจดหมาย หรือการใส่ฟิลด์ข้อมูลจาก Excel นั่นเอง ซึ่งทำได้โดย ให้คลิกคำสั่ง More items…
11.จะปรากฏหน้าต่าง Insert Merge Field ให้คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการ เนื่องจากตัวอย่างของเรา ต้องการชื่อและตำแหน่ง ดังนั้นในที่นี้ให้คลิกเลือกฟิลด์ “ชื่อ” แล้วคลิกปุ่ม Insert แล้วเลือกฟิลด์ “ตำแหน่ง” โดยทำในแบบทำนองเดียวกัน
12.การเลือกฟิลด์ “ชื่อ” และ “ตำแหน่ง” ดังกล่าว จะทำให้ข้อความในจดหมายเปลี่ยนไป
13.ให้มองลงมาข้างล่าง แล้วเลือกคำสั่ง Next: Preview your letters
14.จะเข้าสู่ขั้นต่อไปของการทำจดหมายเวียน เป็นการ Preview ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเช่นไร
15.ตัวเลือกทางขวามือจะเปลี่ยนไป ถ้าเราเลือกข้อมูลมาดีแล้ว ขั้นตอนนี้สามารถข้ามได้เลย โดยมองลงมาข้างล่างแล้วเลือกคำสั่ง Next: Complete the merge
16. จะปรากฏว่าตัวเลือกทางด้านขวาเปลี่ยนไป โดยเข้ามาสู่ขั้นตอนสุดท้าย ในขั้นตอนนี้ขอแนะนำว่าให้เลือกคำสั่ง Edit individual letters เพื่อให้ MS Word สร้างจดหมายของแต่ละคนให้ โดยจะเป็นไฟล์ต่อเนื่องกัน มีเนื้อความเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ฟิลด์ (จาก Excel) ที่ใส่ลงไปนั่นเอง
17.เมื่อคลิกคำสั่ง Edit individual letters แล้วจะปรากฏหน้าต่าง Merge to New Document ให้เลือก All แล้วคลิกปุ่ม OKจะได้ว่า MS Word จะสร้างไฟล์ใหม่ เนื่องจากขั้นตอนที่ 1 เราเลือก Letters ดังนั้น MS Word จะสร้างไฟล์ใหม่ชื่อว่า letter1.doc (อย่าสับสนกับไฟล์จดหมายต้นฉบับ letter.1.doc นะคะ) แล้วทำซ้ำจดหมายเดิม แล้วเอาค่าจากฟิลด์ใน Excel ไปแปะใส่ ทำอย่างนี้ข้อมูลครบทุกอัน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำจดหมายเวียนค่ะ


































































2รูปภาพประกอบการทำเว็บบล๊อก






















1ขั้นตอนการทำเว็บบล๊อก

การสร้าง Blog

วิธีการสร้าง Blog มี 3 วิธี คือ
- Blog host
คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการทำ blog ฟรี
- Blogware
คือ โปรแกรมสำหรับสร้าง blog โดยเฉพาะ
- Content Management System (CMS)

ลักษณะสำคัญของ Blog

1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่

3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง

วัตถุประสงค์ของการสร้าง

1. รายงานการท่องเว็บ วัตถุประสงค์นี้เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็น
ต้นกำเนิดของบล็อกด้วย ดังนั้นบล็อกดั่งเดิมล้วนเป็นผลมาจากการท่อง
เว็บไซต์ เมื่อเห็นว่าเว็บไซต์ไหนดี ผู้เขียนบล็อก (blogger) ก็จะนำมาบอกต่อ
โดยภาพรวมก็จะเป็นแค่การทำข้อความเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์นั้น(link)
และคำบรรยายเว็บไซต์นั้นๆ
2. การแสดงความคิดเห็น ใช้แสดงความคิดเห็น ความคิดสร้างสรรค์
หรือความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะใช้บล็อกเป็นช่องทางในการถ่ายทอด
ความคิดเหล่านั้นให้ผู้อื่นได้รับรู้

3. การถ่ายทอดประสบการณ์ ก็เหมือนกับการเขียนบันทึกประจำวัน บล็อก
ลักษณะนี้เป็นบล็อกที่สามารถพบเห็นได้เป็นส่วนใหญ่ ผู้เขียนบล็อกจะเล่าถึง
ประสบการณ์การไปเที่ยวที่ต่างๆ หรือ บอกเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นในระหว่าง
ดำเนินชีวิต อาจแทรกภาพถ่ายเพื่อให้ดูน่าสนมากขึ้น

4. โน้มน้าวใจผู้อ่าน บล็อกลักษณะนี้เป็นบล็อกที่ชวน

ประเภทของ blog แบบที่ 1

Blogs มี 2 ประเภท

ผู้แต่งคนเดียว (single author)
ผู้แต่งหลายคน (multi-author)
ผู้บริหาร blog สามารถกำหนดนโยบายการใช้ blog ได้

จำกัด comments
จำกัด view
การเชิญชวนผู้อื่นให้เข้ามาใช้ blog

ประเภทของ blog แบบที่ 2

เป็นการแบ่งประเภทของบล็อกตามรูปแบบของเนื้อหาเฉพาะที่เห็น
เด่นชัดก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
Filter Blog
Personal Journal Blog
Photo Blog
Video Blog หรือ Vlog
บล็อกผสม

ประโยชน์ของ Blog

ใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์
ใช้เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ความบันเทิงในเรื่องต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์
ใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ประโยชน์ของ Blog ด้านการศึกษา

ใช้เป็นแหล่งรับรู้ความคิด และข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับรายวิชา
ใช้เป็นที่แสดงความคิดอ่านของตนเอง หรือข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับรายวิชา
สามารถสร้างการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนที่เกี่ยวข้องได้

ประโยชน์อื่นๆ จาก blog

ใช้เป็นเครื่องมือส่วนบุคคล (personal tools)
บันทึกเรื่องส่วนตัว และข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ใช้เป็นเครื่องมือของนักเรียน (student tools)
นักเรียนสามารถบันทึก note และบทเรียน ฯลฯ
ใช้เป็นเครื่องมือของนักการศึกษา (educator tools)
นักการศึกษาและครูใช้บันทึกการสอน
ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการรายวิชา (course tools)
ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานกลุ่ม (group tools)

คุณลักษณะเฉพาะของ blog

Blog มีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก web site ดังนี

การ post blog จะปรากฏเรียงตามลำดับ และแสดงเวลาที่ post อย่างชัดเจน และในกรณีที่มีผู้แต่งหลายคนในแต่ละ blog จะแสดงสถานะของผู้ที่จะทำการ post ด้วย
ในแต่ละหัวข้อที่ post มักจะเปิดโอกาสให้ใส่ comments ต่อเรื่องที่ post ด้วย

ในแต่ละเรื่องที่ถูก post จะมีตำแหน่งของ link ที่แน่นอน

Blog จะแสดงจำนวนของการ post สามารถเรียงได้หลายแบบ
รายเดือน
รายสัปดาห์
รายประเภทของเนื้อหา
มักจะมี link ไปยัง site หรือ blogs อื่นๆ

ข้อพึงพิจารณาตนก่อนลงมือสร้าง blog

มีเวลาที่จะดูแล blog ที่ทำไว้หรือไม่

มีความตั้งใจที่จะใช้ blog เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ต้องโฆษณา blog บ้าง

มีเวลาที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือไม่

การใช้ Blogger

เข้าไปที่ Blogger : http://www.blogger.com/
สร้าง account
ตั้งชื่อ blog
เลือก templateที่ต้องการ
เริ่มทำการ post ได้

Customise setting

Formatting เปลี่ยนเวลาในแต่ละประเทศ
Comments กำหนดตัวบุคคลที่จะ post ได้
Site feed หาข้อมูลข่าวสาร
Members กำหนดชื่อของบุคคลที่สามารถ post ได้
แก้ profile ใน Dashboard
ทดลองสร้าง blog ของท่าน

TypePad

ทำได้ทุกอย่างที่ blogger พึงกระทำได้
บริการ disk space
Basic level : 1 blog 50 Mb
Plus account : 3 blog 100 Mb
Pro account : unlimited blog 200 Mb
Free trial account : 30 days







วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

วึธีและขั้นตอนการสมัครงาน

วิธีการสมัครงาน
เมื่อนักศึกษาคิดว่านักศึกษาพร้อมแล้วกับการเตรียมตัวสมัครงาน สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไป คือ วิธีการสมัครงาน ซึ่งปัจจุบันวิธีการสมัครงานที่นิยมใช้กันนั้นมีอยู่ 3 วิธี คือการส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ (Apply by Application Form) การเดินเข้าไป สมัครงานเอง (Apply in person หรือที่เรียกว่า Walk in ) และการสมัครงานทาง อินเทอร์เน็ต (Apply by Internet) โดยบางบริษัทอาจมีการระบุไว้ใน ประกาศ รับสมัครงานว่า จะให้สมัครด้วยวิธีไหน ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป ก็ลองพิจารณากันดูว่า จะเลือกใช้วิธีไหนในการสมัครงาน

1. สมัครทางไปรษณีย์ (Apply by Application Form) คือ การที่นักศึกษามีตำแหน่งงาน และที่อยู่ ของบริษัทที่นักศึกษาสนใจอยู่ในมือ และนักศึกษา ก็เลือก ที่จะใช้ วิธีการส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ ดังนั้นสิ่งที่นักศึกษาจะต้องจัดเตรียม คือ 1.1 จดหมายนำ หรือ จดหมายสมัครงาน เป็น จดหมายที่นักศึกษาจะต้องเขียน ถึงผู้จัดการฝ่าย บุคคล(หรือผู้จัดการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น) ของบริษัทนั้น ซึ่งเนื้อหาภายในจดหมายจะเป็นการ แนะนำตัวนักศึกษาเองอย่างย่อๆ โดยจะเป็นการอธิบาย ว่านักศึกษาทราบที่มาของ การรับสมัครงานนี้ได้อย่างไร ตำแหน่งที่นักศึกษาสนใจ และเหตุใดนักศึกษาจึง สนใจ ตำแน่งนี้ นักศึกษาเหมาะสมกับตำแหน่งนี้อย่างไร ซึ่ง ในส่วนของ การเขียนจดหมายนี้จะกล่าวไว้ หัวข้อ วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน
1.2 ประวัติย่อ (Resume) เป็นการบรรยายรายละเอียด เกี่ยวกับตัวนักศึกษา ในเรื่อง ของประวัติการศึกษา ประสบการณ์ การทำงาน ความสามารถพิเศษ และความ สนใจอื่น ซึ่งจะกล่าวไว้ ในหัวข้อการเขียน ประวัติส่วนตัว เช่นกัน 1.3 ใบสมัคร ใบสมัครนี้นักศึกษาอาจได้รับจากบริการจัดหางาน ของ มหาวิทยาลัย หรือจากตลาดนัดพบแรงงาน แต่กรณี ที่นักศึกษากำลังจะสำเร็จการศึกษา นักศึกษาควรใช้ใบสมัครของมหาวิทยาลัย เพราะสะดวกและดูน่าเชื่อถือ โดยสามารถขอรับได้ที่ งานแนะแนวและจัดหางาน กองกิจการนักศึกษา หรือดาวโหลดจาก Web Site กองกิจการนักศึกษา www.psu.ac.th/studaffairs แต่หากนักศึกษาสำเร็จการศึกษาไปแล้วหลายปีไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ เพราะรายละเอียดข้อมูลของประวัติย่อ(Resume) ของนักศึกษามีมากพออยู่แล้ว และในบางบริษัทจะให้นักศึกษากรอก เมื่อบริษัทเรียกตัวไปสัมภาษณ์
1.4 รูปถ่ายและเอกสารอื่นๆ ในบางบริษัทอาจมีการระบุ ชนิดของ เอกสาร ที่ให้ แนบไป พร้อมกับจดหมายสมัครงาน หรือในกรณีที่ ไม่มีการ ระบุให้แนบ เอกสารประกอบการ สมัครงานไป นักศึกษาก็อาจจะแนบเอกสาร ที่นักศึกษาคิดว่า สำคัญ และจะช่วยประกอบ การพิจารณา ส่งไปด้วย ก็ได้
ข้อดี1. สะดวกและประหยัดเวลากว่า การเดินทางไปกรอกใบสมัครด้วยตนเอง ในหลายๆ ที่2. นักศึกษามีโอกาสที่จะใช้เวลาในการพิจารณากรอกใบสมัครได้อย่างรอบคอบมากขึ้น กรณีที่นักศึกษามีใบสมัครของบริษัทนั้นอยู่แล้ว ข้อเสีย 1. นักศึกษาอาจต้องใช้เวลาในการรอเรียกสัมภาษณ์2. นักศึกษาไม่สามารถจะทราบได้ว่าตำแหน่งที่สมัครไปนั้นยังว่างอยู่หรือไม่ เพราะประกาศรับสมัครงานที่นักศึกษาอ่านเจอนั้น อาจจะเป็นประกาศที่ได้ลงประกาศมา เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งบริษัทนั้นก็อาจจะรับผู้สมัครคนอื่นไปเรียบร้อยแล้ว

2. สมัครด้วยตนเอง คือ การที่นักศึกษาอาจจะทราบ หรือไม่ทราบก็ได้ว่า บริษัท นั้น มีตำแหน่งงานว่างหรือไม่ หรือใน ประกาศรับสมัครงาน อาจระบุว่านักศึกษา จะต้องไป สมัครด้วยตนเอง นักศึกษาจึงต้อง เป็นฝ่ายไปที่บริษัท เพื่อติดต่อฝ่ายบุคคลที่รับผิดชอบ ในเรื่องนี้ โดยตรง และทำการ ขอใบสมัครมากรอกเอง โดยใน กรณีที่ บริษัทนั้นมีตำแหน่งว่าง และกำลัง เปิดรับ สมัครอยู่ เขาก็จะให้นักศึกษากรอกใบสมัคร พร้อมขอเอกสารต่างๆ ไว้ประกอบการ พิจารณา และในบางบริษัท อาจให้ นักศึกษาเข้าสัมภาษณ์เลย แต่ถ้าบริษัทนั้นไม่มี ตำแหน่ง ว่าง เขาก็อาจจะให้ นักศึกษากรอกใบสมัครทิ้งไว้ เพื่อที่ เวลาบริษัท มีตำแหน่ง ว่างขึ้นมา เขาก็ จะเรียกดู ใบสมัคร ที่มีคน มากรอกทิ้งไว้มาพิจารณาก่อน ซึ่ง วิธีนี้ นักศึกษาควรจะเตรียมหลักฐานพร้อม เครื่องใช้ต่างๆ ไปให้พร้อม และควรให้ความ สำคัญในเรื่องของ การแต่งกายด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะเป็นแค่การ ไปกรอก ใบสมัครก็ตามแต่เราก็ควร ที่จะสร้าง ความประทับ แก่เขาด้วยการปรากฏกาย ครั้งแรก ที่สุภาพ สะอาดตา และมีรสนิยมพอสมควร

3. การสมัครงานทางอินเทอร์เน็ต
สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ 3.1 การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
คือ การส่งหมาย สมัครงาน ในรูปแบบของ อิเล็ก ทรอนิกส์ แทนที่จะส่งไปในรูป ของกระดาษ โดยที่ ยังคง รายละเอียด ภายในจดหมายเหมือนเดิม ทุกประการ เพียงแต่นักศึกษา ไม่ต้อง ให้ความสำคัญ ในเรื่องของ การ จัดหน้ากระดาษการตกแต่ง ด้วยการ ทำตัวหนา ตัวเอียง การขีดเส้นใต้ หรือการเขียน เป็นข้อๆ เพราะการ แสดงผล ของเครื่อง แต่ละเครื่อง มัก จะไม่เหมือนกัน ซึ่งก่อนจะส่งจดหมาย ประเภทนี้ นักศึกษาจะต้อง สมัครใช้ บริการ กับเว็บไซต์ ที่ให้บริการส่งจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เสียก่อน เช่น Hotmail Thaimail ฯลฯ และนักศึกษาจะต้องมี E-mail
Address ของบริษัทที่นักศึกษาสนใจ ไว้ด้วย ซึ่งในประกาศ รับสมัครงานของบางบริษัท อาจมีการระบุ E-mail Address ไว้ให้ และการสมัครงาน ด้วยวิธีนี้ ยังเอื้อให้นักศึกษา สามารถแนบ (Attach) ประวัติส่วนตัว ที่นักศึกษาพิมพ์เก็บไว้เป็นไฟล์ส่งไปด้วยก็ได้

3.2 การสมัครงานกับเว็บไซต์ที่ให้บริการหางาน
คือ การที่นักศึกษาเข้าไปสมัคร เป็นสมาชิกของเว็บไซต์ที่ให้บริการหางาน พร้อมกรอกประวัติส่วนตัว (Resume) และระบุตำแหน่งที่ต้องการทิ้งไว้ และเมื่อนักศึกษาค้นหาตำแหน่งงานที่สนใจได้แล้ว เว็บไซต์เหล่านี้ก็จะอำนวยความสะดวก ให้นักศึกษาโดยจะสั่งให้โปรแกรม นำประวัติ ส่วนตัวที่นักศึกษากรอกไว้ส่งไปยังบริษัท ที่นักศึกษาสนใจได้เลยทันที นอกจากนี้ใน บางเว็บไซต์ยังมีบริการเตือน เมื่อมีตำแหน่งงาน ที่ตรงกับความ ต้องการ ของนักศึกษาเข้ามา หรือมีบริษัทที่สนใจเข้ามาดูประวัติส่วนตัวของนักศึกษา โดยระบบจะ ทำการเแจ้งมายัง E-mail Address ที่นักศึกษาให้ไว้ หรือแจ้งไว้ในฐานข้อมูล ที่นักศึกษาสมัครงานไว้กับเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน
ข้อดี1. สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องเอกสารและการจัดส่ง2. นักศึกษาไม่ต้องกังวลกับรูปแบบของจดหมายที่ส่งไป3. นักศึกษามีโอกาสที่จะได้รับการติดต่อกับนายจ้างได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าการส่งใบสมัครทางไปรษณีย์4. นักศึกษาสามารถเข้าไปแก้ไขและเปลี่ยนแปลง ประวัติส่วนตัวที่นักศึกษากรอกไว้ กับเว็บไซต์นั้นได้ตลอดเวลา

หลักสูตรโปรแกรมคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (2ปีหลัง)

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Bachelor of Business Administration Program in Business Computer
ชื่อ ปริญญา ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
B.B.A. (Business Computer)
จุดประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม
โครงสร้างหลักสูตร
มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)

(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)


(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500103 วิถีโลก 3(3-0)และ/หรือ
2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)

(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2)และ/หรือ
4000108 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)

ข้อกำหนดเฉพาะ

1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน

2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้

3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3521101 การบัญชี 1 3521102 การบัญชี 2
4112105 สถิติธุรกิจ 3531101 การเงินธุรกิจ
3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
บังคับเรียน 9 หน่วยกิต
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)

ข้อกำหนดเฉพาะ

1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์กาสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน


(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(90)
3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(210)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้